Effects of analytical thinking process in sex education on the sexual behavior of eighth grade male students

จาก ChulaPedia

ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

กระบวนการคิดวิเคราะห์ เป็นกระบวนการเพื่อชี้นำพฤติกรรม ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและเจตคติช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นปัญหา ทำความเข้าใจปัญหา รู้จักปัญหาอย่างแท้จริง เพื่อเสริมสร้างให้วัยรุ่นมีทักษะในการคิด การตัดสินใจและการแก้ปัญหาด้วยตนเองในเรื่องเพศ ได้อย่างเหมาะสม มีทักษะในการสื่อสาร ทักษะการปฏิเสธ และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีแก่ผู้อื่น ตลอดจนมีความภูมิใจในตนเองที่จะนำไปสู่การมีความรับผิดชอบต่อสังคม บทความนี้นำเสนอผลของการใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์เรื่องเพศศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนชายมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์เรื่องเพศศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนชายมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งกระบวนการคิดวิเคราะห์ มี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) กำหนดสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ เป็นการกำหนดวัตถุ สิ่งของ เรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อเป็นต้นเรื่องที่จะใช้วิเคราะห์ 2) กำหนดปัญหาหรือวัตถุประสงค์ เป็นการกำหนดประเด็นสงสัยจากปัญหาหรือสิ่งที่วิเคราะห์ อาจจะกำหนดเป็นคำถามหรือกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ เพื่อค้นหาความจริงของสาเหตุหรือความสำคัญ 3) กำหนดหลักการหรือกฎเกณฑ์ เพื่อใช้แยกส่วนประกอบของสิ่งที่กำหนดให้ เช่นเกณฑ์ในการจำแนกสิ่งที่มีความเหมือนกันหรือแตกต่างกัน 4) กำหนดการพิจารณาแยกแยะ เป็นการกำหนดการพินิจพิเคราะห์แยกแยะ และกระจายสิ่งที่กำหนดให้ออกเป็นส่วนย่อย ๆ โดยใช้คำถาม 5W 1H ประกอบด้วย What (อะไร) Where (ที่ไหน) When (เมื่อไร) Why (ทำไม) Who (ใคร) และ How (อย่างไร) 5) สรุปคำตอบ เป็นการรวบรวมประเด็นที่สำคัญเพื่อหาข้อสรุปเป็นคำตอบหรือตอบปัญหาของสิ่งที่กำหนดใว้ และพบว่า พฤติกรรมทางเพศหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และพฤติกรรมทางเพศหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม

เครื่องมือส่วนตัว