ChulaPedia:ผู้ใช้

จาก ChulaPedia

ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในพนักงานกวาดถนน กรุงเทพมหานคร (PREVALENCE AND RELATED FACTORS OF MUSCULOSKELETAL DISCOMFORT AMONG ROAD SWEEPERS IN BANGKOK) พญ.สุรีรัตน์ ธีระวณิชตระกูล อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก: ศ.ดร.นพ. พรชัย สิทธิศรัณย์กุล

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง (musculoskeletal discomfort : MSD) ในพนักงานกวาดถนน กรุงเทพมหานคร วิธีการ เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ในพนักงานกวาดถนน กรุงเทพมหานคร จำนวนตัวอย่างที่ได้รับการคัดเข้าทั้งหมด 273 ราย การเก็บข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านลักษณะงาน และประเมินอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง โดยใช้แบบสอบถามของนอร์ดิก ร่วมกับแบบสอบถามระดับคะแนนอาการปวดเมื่อยล้า (Body discomfort) และประเมินด้าน การยศาสตร์โดยใช้ REBA (Rapid Entire Body Assessment) ผล พนักงานกวาดถนนมีความชุกของ MSD สูง โดยมีความชุกสูงที่สุดในส่วนไหล่ รองลงมาคือเข่า ความชุกในรอบ 7 วัน โดยรวมมีร้อยละ 79.12 ความชุกในรอบ 12 เดือนโดยรวมมีร้อยละ 85.71 ความรุนแรงของอาการผิดปกติที่ต้องลางานโดยรวมมีร้อยละ 11.72 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อ overall MSD ได้แก่ การทำงานบ้าน (Adjusted odds ratio 2.579, p-value 0.027) และ อายุการปฏิบัติงานระหว่าง 21-40 ปี (Adjusted odds ratio 10.909, p-value 0.020) ผลการประเมินระดับคะแนนอาการปวดเมื่อยล้า (Body discomfort) ของแต่ละส่วนของร่างกายมีค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนค่อนข้างต่ำ โดยพบว่าค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนต่ำสุดคือบริเวณข้อศอก (0.28 คะแนน) และสูงสุดคือบริเวณไหล่ (1.09 คะแนน) ผลการประเมินด้านการยศาสตร์ในการทำงานกวาดถนน ของพนักงานกวาดถนน 1 ราย(ถนัดขวา) โดยใช้ REBA พบว่า Final Score ของร่างกายด้านขวา เท่ากับ 10 (เสี่ยงสูง) และ Final Score ของร่างกายด้านซ้าย เท่ากับ 7 (เสี่ยงปานกลาง) สรุป พนักงานกวาดถนน กรุงเทพมหานครมีความชุกของ MSD ค่อนข้างสูง ควรจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเกิด MSD จากการทำงานกวาดถนน

เครื่องมือส่วนตัว