ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทดสอบระยะทางการเอื้อมหลายทิศทางในเด็กปกติ

จาก ChulaPedia

ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

การทดสอบระยะทางการเอื้อมหลายทิศทาง เป็นหนึ่งในกระบวนการทดสอบทางคลินิก ที่ใช้ในการทดสอบความสามารถการทรงตัวขณะเคลื่อนไหว และขอบเขตความมั่นคงของร่างกายทั้ง 4 ทิศทาง ประกอบด้วย ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านซ้าย และด้านขวา สำหรับเด็กอายุ 7-12 ปี ความสามารถในการทรงตัวเริ่มมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของหลายๆปัจจัย อาทิ อายุ ลักษณะสัดส่วนร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา โดยค่าคะแนนระยะทางการเอื้อมหลายทิศทางมีการพัฒนาขึ้นตามอายุ รวมถึงมีความสัมพันธ์ระดับพอใช้ถึงปานกลางกับปัจจัยด้านอายุ-ลักษณะสัดส่วนร่างกาย และพบว่าความแข็งแรงของกลุ่มกล้ามเนื้องอข้อเข่ามีความสัมพันธ์ดีที่สุดกับค่าคะแนนระยะทางการเอื้อมทุกทิศทาง ข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนโปรแกรมการพัฒนา และฟื้นฟูความสามารถในการทรงตัว รวมถึงขอบเขตความมั่นคงของร่างกายที่มีความเฉพาะเจาะจงในแต่ละทิศทาง

เครื่องมือส่วนตัว