เอื้องทอง

จาก ChulaPedia

ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

เอื้องทองจัดอยู่ในพืชสกุลหวาย วงศ์กล้วยไม้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dendrobium ellipsophyllum จากงานวิจัยพบองค์ประกอบทางเคมีจากสิ่งสกัดชั้นเมทานอล 10 ชนิดซึ่งเป็นสารที่เคยมีรายงานมาก่อน ได้เเก่ กลุ่มไบเบนซิล คือ moscatilin [สาร 1], 4,4'-dihydroxy-3,5-dimethoxybibenzyl [สาร 2], 4,5,4'-trihydroxy-3,3'-dimethoxybibenzyl [สาร 3] กลุ่มฟลาโวนอยด์ คือ (2S)-homoeriodictyol [สาร 4], (2S)-eriodictyol [สาร 5], chrysoeriol [สาร 6], luteolin [สาร 7] กลุ่มไดไฮโดรฟีเเนนทรีน คือ 4,5-dihydroxy-2,3-dimethoxy-9,10-dihydrophenanthrene [สาร 8] กลุ่มโครโมน คือ 5,7-dihydroxy-chromen-4-one [สาร 9] กลุ่มฟีนิลโพรพานอยด์ คือ phloretic acid [สาร 10] จากข้อมูลสารที่เเยกได้ทั้งหมดพบฤทธิ์ทางชีวภาพของสาร 3 เเละ 7 มีฤทธิ์ระดับปานกลางยับยั้งเซลล์มะเร็งเต้านม MCF-7 โดยใช้ tamoxifen เเละ doxorubucin เป็นชุดควบคุมผลบวก เเละยังสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งช่องปาก KB โดยใช้ ellipticine เเละ doxorubicin เป็นชุดควบคุมผลบวก นอกจากนี้สารกลุ่มไบเบนซิล (สาร 2 เเละ 3) เเละกลุ่มฟลาโวนอยด์ (สาร 6 เเละ 7) มีฤทธิ์ต้านการเเพร่กระจายของเซลล์มะเร็งปอด H292 โดยกระตุ้นการเกิดอะพอพโทซิส เเละการเกิดอะนอยคิสอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ซึ่งสาร 3 กระตุ้นการเกิดอะนอยคิสออกฤทธิ์เร็วที่สุดที่ 6 ชั่วโมง ที่ความเข้มข้น 1 เเละ 5 uM นอกจากนี้สาร 2 มีฤทธิ์ระดับอ่อนต้านไวรัสเริมชนิด HSV-1 เเละ HSV-2 โดยใช้ acyclovir เป็นชุดควบคุมผลบวก จากการศึกษาข้อมูลองค์ประกอบทางเคมีเเละฤทธิ์ทางชีวภาพของเอื้องทองในครั้งนี้ซึ่งยังไม่เคยมีผู้ทำการวิจัยมาก่อน จะมีประโยชน์ต่อการศึกษาอนุกรมวิธานของพืชสกุลหวาย เเละการพัฒนายาที่มาจากพืชสมุนไพรต่อไป

เครื่องมือส่วนตัว